วิธีการติดตั้ง
วิธีการติดตั้งท่อ PPR
(INSTALLATION)
เดินท่อ PPR ภายในบ้านหรืออาคาร สำคัญที่วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อท่อ PPR ท่อและข้อต่อต้องประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่มีวันรั่ว
การเดินท่อ PPR นอกจากต้องใช้ท่อและข้อต่อจากโรงงานเดียวกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการให้ความร้อนในการหลอมเหลว เพราะขณะเดินท่อ PPR ติดตั้งท่อและข้อต่อ เครื่องเชื่อม PPR ควรมีความร้อนสม่ำเสมอ ณ ที่อุณหภูมิ 250 -260 องศาฯ ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ทำให้การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR เกิดการหลอมเหลวประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ดี ไม่เกิดการรั่วซึมได้ ดังนั้นการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR จึงควรใช้เครื่องเชื่อม PPR ที่มีคุณภาพสูงและไม่แนะนำให้ใช้เครื่องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ เพราะอาจทำให้ความร้อนที่ใช้ในการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR ไม่เสถียร
ในการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบรนด์ ไทย พีพี-อาร์ ไม่ต้องใช้กาวหรือน้ำยาประสานใดๆ ทั้งสิ้น จึงสะอาดปลอดภัยเหมาะสำหรับใช้อุปโภค บริโภค ไม่มีสารก่อมะเร็งหรือสารอันตรายเจือปน โดยเฉพาะกรณีที่ต้องทำการเดินท่อ PPR หรือเพื่อซ่อมแซมระบบท่อในอาคาร (Renovate) การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR ไทย พีพี-อาร์ ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือควันที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ในอาคารได้ อีกทั้งยังไร้กลิ่น ไร้สารเคมีที่จะมารบกวนและทำอันตรายกับผู้ติดตั้งระหว่างการทำงาน และยังสามารถใช้งานทันทีเมื่อเย็นตัวลง
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบบเชื่อมสอด
(SOCKET FUSION)
ตารางการให้ความร้อน
(TABLE OF HEATING TIME)
ข้อควรระวังในการติดตั้ง การให้ความร้อนเกินกว่าเวลาที่กำหนดจะทำให้ปลายท่อหลอมละลายมากเกินไป อาจเกิดการอุดตันได้
การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบรนด์ ไทย พีพี-อาร์ แบบเชื่อมสอดหรือ Socket Fusion สำหรับท่อและข้อต่อขนาด : D20 – D125 ( ½” – 5”)
โดยเครื่องเชื่อม PPR ที่รองรับการติดตั้งหรือการเดินท่อ PPR ประเภทนี้ ประกอบด้วยรุ่น
D23-32 (Small)
ใช้กับท่อขนาด 1/2"-1"
D23-32 (Large)
ใช้กับท่อขนาด 1/2"-1"
D20-63
ใช้กับท่อขนาด 1/2"-2"
D75-110
ใช้กับท่อขนาด 2 1/2"-4"
D125
ใช้กับท่อขนาด 5"
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบบเชื่อมชน B.F.
(BUTT FUSION)
การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบรนด์ ไทย พีพี-อาร์ แบบเชื่อมชนหรือ Butt Fusion (B.F.) สำหรับท่อและข้อต่อขนาด : D75 – D315 (3” – 12”) โดยเครื่องเชื่อม PPR ที่รองรับการติดตั้งหรือการเดินท่อ PPR ประเภทนี้ ประกอบด้วยรุ่น
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบบเชื่อมสอด E.F.
(ELECTRO FUSION)
เทคโนโลยีการติดตั้งท่อ PPR ที่ดีกว่า ด้วยหลักการทำงาน โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าขดลวดที่ฝั่งอยู่ในผนังของตัวข้อต่อสร้างความร้อนทำให้เนื้อท่อและข้อต่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกันจากนั้นปล่อยให้เย็น ท่อจะแข็งตัวและเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับข้อต่อ จึงเหมาะสำหรับแนวท่อเมน (Main) ภายในอาคาร สะดวกต่อการจัดวางและติดตั้งในที่แคบ ให้การติดตั้งท่อขนาดใหญ่ในอาคารเป็นเรื่องง่าย!
ด้วยระบบไฟฟ้าแบบ เชื่อมสอด Electro Fusion (E.F.) มาตรฐานส่งออกเยอรมนี ท่อและข้อต่อผลิตจากโรงงานเดียวกัน
ผสานเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีวันรั่ว!….รองรับท่อขนาดใหญ่ D75 – D315 (3” – 12”) เครื่องเชื่อม PPR ที่รองรับการติดตั้งหรือการเดินท่อ PPR ประเภทนี้
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR ข้อต่ออานม้า
(SADDLE FITTING)
ง่ายสะดวกรวดเร็วในกรณีที่ต้องการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR เพิ่มเส้นทางเดินท่อหรือต่อท่อสาขาออกจากท่อเมน (Main) ด้วยคุณสมบัติพิเศษของท่อ PPR สามารถเจาะรู ในตำแหน่งที่ต้องการแล้วใช้ข้อต่ออานม้า ไทยพีพี-อาร์ต่อเชื่อมได้เลย โดยไม่ต้องยุ่งยากในการรื้อเปลี่ยนท่อหรือเดินท่อ PPR ใหม่
โดยมีข้อต่ออานม้า ไทยพีพี-อาร์ ให้เลือก 3 ขนาด คือ 25 มม. 32 มม. และ 40 มม. (ควรเลือกใช้ข้อต่ออานม้า ไทยพีพี-อาร์ ประกอบเข้าหัวเชื่อมอานม้า ไทยพีพี-อาร์ ให้ถูกต้อง)
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR หน้าจานเหล็ก
(FLANGE)
หน้าจานเหล็ก (Flange) หรือหน้าแปลน ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างปลายของท่อ หรือ เชื่อมต่อกันระหว่างท่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือ เชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด เช่น บัตเตอร์ฟลายวาล์ว (Butterfly Valve)
การเดินท่อ PPR ต่อเชื่อมระบบหน้าจานเหล็กกับท่อ PPR คือ การต่อเชื่อมแบบถอดได้ โดยมีปะเก็นและตัวแปลงหน้าจาน (Butt Flange Adaptor) เชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างเชื่อมติดอยู่กับทั้ง 2 ด้านของอุปกรณ์ ทั้งทางเข้า และทางออก โดยจะมีปะเก็นขั้นกลาง แล้วขันนอตเพื่อยึดแน่น
การซ่อมแซมรูรั่ว
(LEAKAGE REPAIR)
ท่อน้ำรั่ว คงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับท่อน้ำประเภทอื่น ที่ต้องทำการเปลี่ยน หรือรื้อซ่อมแซมหากเป็นท่อเดินลอยยังพอแก้ไขได้แต่ถ้าหากอยู่ใต้กระเบื้องหรือฝังอยู่ใต้กำแพงความเสียหายก็จะทวีคูณมากขึ้น
แต่การซ่อมแซมรูรั่วของท่อ PPR ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุช่างพลาดตอกตะปูหรือใช้สว่านเจาะถูกท่อไทย-พีพีอาร์ ด้วยคุณสมบัติของท่อวัสดุ PPR ในการหลอมเป็นเนื้อเดียวกันได้ด้วยความร้อน จึงสามารถซ่อมแซม อุดรูรั่วได้ง่ายๆ เพียงใช้แท่งซ่อม ไทย พีพี-อาร์ (Repairing Sticker)
รู้เท่าทันเรื่องท่อน้ำ
รอบรู้เรื่องท่อ
รอบรู้เรื่องท่อ
ก่อนเลือกใช้ท่อ PPR ต้องรู้
เหตุผลที่ควรเลือกใช้ท่อน้ำไทย พีพี-อาร์
เหตุผลที่ควรเลือกใช้ท่อน้ำไทย พีพี-อาร์
วิธีการติดตั้งท่อ PPR
เดินท่อ PPR ภายในบ้านหรืออาคาร สำคัญที่วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อท่อ PPR ท่อและข้อต่อต้องประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่มีวันรั่ว
การเดินท่อ PPR นอกจากต้องใช้ท่อและข้อต่อจากโรงงานเดียวกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการให้ความร้อนในการหลอมเหลว เพราะขณะเดินท่อ PPR ติดตั้งท่อและข้อต่อ เครื่องเชื่อม PPR ควรมีความร้อนสม่ำเสมอ ณ ที่อุณหภูมิ 250 -260 องศาฯ ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ทำให้การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR เกิดการหลอมเหลวประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ดี ไม่เกิดการรั่วซึมได้ ดังนั้นการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR จึงควรใช้เครื่องเชื่อม PPR ที่มีคุณภาพสูงและไม่แนะนำให้ใช้เครื่องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ เพราะอาจทำให้ความร้อนที่ใช้ในการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR ไม่เสถียร
ในการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบรนด์ ไทย พีพี-อาร์ ไม่ต้องใช้กาวหรือน้ำยาประสานใดๆ ทั้งสิ้น จึงสะอาดปลอดภัยเหมาะสำหรับใช้อุปโภค บริโภค ไม่มีสารก่อมะเร็งหรือสารอันตรายเจือปน โดยเฉพาะกรณีที่ต้องทำการเดินท่อ PPR หรือเพื่อซ่อมแซมระบบท่อในอาคาร (Renovate) การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR ไทย พีพี-อาร์ ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือควันที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ในอาคารได้ อีกทั้งยังไร้กลิ่น ไร้สารเคมีที่จะมารบกวนและทำอันตรายกับผู้ติดตั้งระหว่างการทำงาน และยังสามารถใช้งานทันทีเมื่อเย็นตัวลง
เลือกดูข้อมูลการติดตั้ง
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบบเชื่อมสอด
(SOCKET FUSION)
การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบรนด์ ไทย พีพี-อาร์ แบบเชื่อมสอดหรือ Socket Fusion สำหรับท่อและข้อต่อขนาด : D20 – D125 ( ½” – 5”)
โดยเครื่องเชื่อม PPR ที่รองรับการติดตั้งหรือการเดินท่อ PPR ประเภทนี้ ประกอบด้วยรุ่น
D20-32
(Small)
D20-32
(Large)
D20-63
D75-110
D125
ตารางการให้ความร้อน
(TABLE OF HEATING TIME)
ข้อควรระวัง
- ในการติดตั้ง การให้ความร้อนเกินกว่าเวลาที่กำหนดจะทำให้ปลายท่อหลอมละลายมากเกินไป อาจเกิดการอุดตันได้
- ในการติดตั้งท่อ พีพี-อาร์ บริเวณปั๊มของระบบน้ำร้อน เป็นระยะ 1 เมตร เนื่องจากจะได้รับผลกระทบจากการสั่นจากการทำงานของเครื่อง และการยืดหดตัว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทำให้ท่อแตกได้ แนะนำให้ใช้ท่อพีพี-อาร์ หลังจากข้อต่อ Flexible Joint ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงจากการสั่นทำให้ท่อล้า และเกิดปรากฏการณ์ Cavitation
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบบเชื่อมชน B.F.
(BUTT FUSION)
การติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบรนด์ ไทย พีพี-อาร์ แบบเชื่อมชนหรือ Butt Fusion (B.F.) สำหรับท่อและข้อต่อขนาด : D75 – D315 (3” – 12”) โดยเครื่องเชื่อม PPR ที่รองรับการติดตั้งหรือการเดินท่อ PPR ประเภทนี้ ประกอบด้วยรุ่น
Butt Fusion Machine
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR แบบเชื่อมสอด E.F.
(ELECTRO FUSION)
เทคโนโลยีการติดตั้งท่อ PPR ที่ดีกว่า ด้วยหลักการทำงาน โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าขดลวดที่ฝั่งอยู่ในผนังของตัวข้อต่อสร้างความร้อนทำให้เนื้อท่อและข้อต่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกันจากนั้นปล่อยให้เย็น ท่อจะแข็งตัวและเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับข้อต่อ จึงเหมาะสำหรับแนวท่อเมน (Main) ภายในอาคาร สะดวกต่อการจัดวางและติดตั้งในที่แคบ ให้การติดตั้งท่อขนาดใหญ่ในอาคารเป็นเรื่องง่าย!
ด้วยระบบไฟฟ้าแบบ เชื่อมสอด Electro Fusion (E.F.) มาตรฐานส่งออกเยอรมนี ท่อและข้อต่อผลิตจากโรงงานเดียวกัน
ผสานเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีวันรั่ว!….รองรับท่อขนาดใหญ่ D75 – D315 (3” – 12”) เครื่องเชื่อม PPR ที่รองรับการติดตั้งหรือการเดินท่อ PPR ประเภทนี้
E.F. Machine
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR ข้อต่ออานม้า
(SADDLE FITTING)
ง่ายสะดวกรวดเร็วในกรณีที่ต้องการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR เพิ่มเส้นทางเดินท่อหรือต่อท่อสาขาออกจากท่อเมน (Main) ด้วยคุณสมบัติพิเศษของท่อ PPR สามารถเจาะรู ในตำแหน่งที่ต้องการแล้วใช้ข้อต่ออานม้า ไทยพีพี-อาร์ต่อเชื่อมได้เลย โดยไม่ต้องยุ่งยากในการรื้อเปลี่ยนท่อหรือเดินท่อ PPR ใหม่
โดยมีข้อต่ออานม้า ไทยพีพี-อาร์ ให้เลือก 3 ขนาด คือ 25 มม. 32 มม. และ 40 มม. (ควรเลือกใช้ข้อต่ออานม้า ไทยพีพี-อาร์ ประกอบเข้าหัวเชื่อมอานม้า ไทยพีพี-อาร์ ให้ถูกต้อง)
หัวเจาะอานม้า
หัวเชื่อมอานม้า
ข้อต่ออานม้า
วิธีการติดตั้งหรือเดินท่อ PPR หน้าจานเหล็ก
(FLANGE)
หน้าจานเหล็ก (Flange) หรือหน้าแปลน ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างปลายของท่อ หรือ เชื่อมต่อกันระหว่างท่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือ เชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด เช่น บัตเตอร์ฟลายวาล์ว (Butterfly Valve)
การเดินท่อ PPR ต่อเชื่อมระบบหน้าจานเหล็กกับท่อ PPR คือ การต่อเชื่อมแบบถอดได้ โดยมีปะเก็นและตัวแปลงหน้าจาน (Butt Flange Adaptor) เชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างเชื่อมติดอยู่กับทั้ง 2 ด้านของอุปกรณ์ ทั้งทางเข้า และทางออก โดยจะมีปะเก็นขั้นกลาง แล้วขันนอตเพื่อยึดแน่น
หน้าจานเหล็ก
ตัวแปลงหน้าจาน (Butt)
การซ่อมแซมรูรั่ว
(LEAKAGE REPAIR)
ท่อน้ำรั่ว คงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับท่อน้ำประเภทอื่น ที่ต้องทำการเปลี่ยน หรือรื้อซ่อมแซมหากเป็นท่อเดินลอยยังพอแก้ไขได้แต่ถ้าหากอยู่ใต้กระเบื้องหรือฝังอยู่ใต้กำแพงความเสียหายก็จะทวีคูณมากขึ้น
แต่การซ่อมแซมรูรั่วของท่อ PPR ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุช่างพลาดตอกตะปูหรือใช้สว่านเจาะถูกท่อไทย-พีพีอาร์ ด้วยคุณสมบัติของท่อวัสดุ PPR ในการหลอมเป็นเนื้อเดียวกันได้ด้วยความร้อน จึงสามารถซ่อมแซม อุดรูรั่วได้ง่ายๆ เพียงใช้แท่งซ่อม ไทย พีพี-อาร์ (Repairing Sticker)