TECHNICAL DATA
ข้อมูลเชิงเทคนิค
PRESSURE LOSS DIAGRAM
ในขณะที่น้ำไหลภายในท่อ ทุกครั้งจะเกิดความเสียดทานขึ้น อันเนื่องมาจากความหนืดของน้ำ ถ้าผนังของท่อหยาบ ก็จะเพิ่มความเสียดทานขึ้นอีก เนื่องจากความหยาบของผนังท่อท้าให้เพิ่มการไหลแบบปั่นป่วน (Turbulent Flow) หรือการไหลที่ไม่เป็นระเบียบ โดยทั่วไปเกิดขึ้นกับของไหลที่มีค่าความหนืด (viscosity) ต่ำ
และไหลด้วยความเร็วสูง หรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อที่ของไหลไหลผ่านมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของไหล รูปแบบการไหลมีทิศทางและความเร็วที่ไม่แน่นอน และมีการผสมกันระหว่างชั้นของไหลในขณะเคลื่อนที่ภายในท่อ พลังงานที่สูญเสียไปเนื่องจากความเสียดทานนี้ จะแสดงออกมาในรูปของ ความดันลด (Pressure loss) ความดันลดนี้ แปรตามความยาวท่อ ความเร็วของน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และความหยาบของผนังท่อ
ผู้ออกแบบสามารถอ่านขนาดท่อ ความเร็วน้ำ อัตราการไหลและความดันลดของท่อ THAI PP-R ได้จากกราฟโดยตรง ซึ่งความเร็วของน้ำภายในท่อไม่ควรเกิน 3 เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันมิให้มีเสียงดังของน้ำ และลดอัตราการสึกหรอของท่อ ตลอดจนจำกัดความดันลดไม่ให้สูงมากจนทำให้ต้องใช้แรงดันน้ำสูงเกินไป
PRESSURE LOSS DIAGRAM
ในขณะที่น้ำไหลภายในท่อ ทุกครั้งจะเกิดความเสียดทานขึ้น อันเนื่องมาจากความหนืดของน้ำ ถ้าผนังของท่อหยาบ ก็จะเพิ่มความเสียดทานขึ้นอีก เนื่องจากความหยาบของผนังท่อท้าให้เพิ่มการไหลแบบปั่นป่วน (Turbulent Flow) หรือการไหลที่ไม่เป็นระเบียบ โดยทั่วไปเกิดขึ้นกับของไหลที่มีค่าความหนืด (viscosity) ต่ำ
และไหลด้วยความเร็วสูง หรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อที่ของไหลไหลผ่านมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของไหล รูปแบบการไหลมีทิศทางและความเร็วที่ไม่แน่นอน และมีการผสมกันระหว่างชั้นของไหลในขณะเคลื่อนที่ภายในท่อ พลังงานที่สูญเสียไปเนื่องจากความเสียดทานนี้ จะแสดงออกมาในรูปของ ความดันลด (Pressure loss) ความดันลดนี้ แปรตามความยาวท่อ ความเร็วของน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และความหยาบของผนังท่อ
ผู้ออกแบบสามารถอ่านขนาดท่อ ความเร็วน้ำ อัตราการไหลและความดันลดของท่อ THAI PP-R ได้จากกราฟโดยตรง ซึ่งความเร็วของน้ำภายในท่อไม่ควรเกิน 3 เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันมิให้มีเสียงดังของน้ำ และลดอัตราการสึกหรอของท่อ ตลอดจนจำกัดความดันลดไม่ให้สูงมากจนทำให้ต้องใช้แรงดันน้ำสูงเกินไป