ท่อน้ำรั่วทำอย่างไร

เมื่อท่อน้ำรั่วควรทำอย่างไร สาเหตุ ปัญหา แก้ไขและป้องกัน

ไม่ดีแน่หากท่อน้ำภายในอาคารของคุณเกิดปัญหาท่อน้ำรั่ว ท่อน้ำประปา “แตก รั่ว ซึม” อย่าปล่อยให้ท่อน้ำรั่ว เพราะปัญหาอาจบานปลายตามมาที่อาจสูญเสียมากกว่าเพียงแค่ค่น้ำประปา

ปัญหาท่อน้ำรั่ว ในบ้าน คอนโด โรงงาน โรงแรม แตก รั่ว ซึม เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของผู้อยู่อาศัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องทรัพย์สินค้าใช้จ่ายและยังอาจต้องเผชิญกับปัญหาเชื้อโรคที่สะสมตามฝ้า พื้น ผนัง ทั้งในส่วนของบริษัทบริหารอาคารโครงการ (นิติบุคคล) ท่อน้ำรั่วนอกจากทำให้เราต้องจ่ายค่าน้ำที่ไหลทิ้ง รวมถึงค่าไฟจากปั๊มน้ำที่ทำงานอยู่ตลอดเวลาแล้ว ท่อน้ำรั่วยังสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านและทรัพย์สิน หากท่อน้ำรั่วในพื้น หรือกำแพงอาจต้องทุบกระเบื้อง หรือหินอ่อน หรือหากท่อน้ำรั่วน้ำไหลลงลิฟท์ในคอนโด มูลค่าความสูญเสียอาจบานปลาย ยิ่งกว่านั้นจะส่งผลต่อชื่อเสียงของบริษัทบริหารอาคารโครงการนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการตัดสินใจซื้อไม่น้อยไปกว่าทำเลและราคา หากประวัติ ด้านการบริการและคุณภาพของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างไม่ดีพอนั้น มักจะส่งผลกระทบต่อ ยอดขาย ทั้งโครงการในปัจจุบัน และโครงการในอนาคตได้ ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงควรเปลี่ยน และเลือกใช้ท่อน้ำให้เหมาะสมตั้งแต่ต้น “เพื่อสิ่งที่ดีกว่า”                       

 ……………………………………………………………………..

ท่อน้ำรั่ว

ไม่ได้ทำอะไรอยู่ดีๆ เหตุใดท่อน้ำรั่ว?

สาเหตุเกิดได้หลากหลายประการ แต่โดยมากแล้วท่อน้ำรั่ว มักเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

  • การเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ท่อน้ำทุกชนิดมีอายุการใช้งานเมื่อเวลาผ่านไปวัสดุของท่อจะเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดรอยแตกหรือรูรั่วได้
  • การติดตั้งไม่ถูกต้อง หากช่างติดตั้งท่อไม่ถูกวิธี เช่น ช่างสวมท่อและข้อต่อ PVC เข้าด้วยกันเลยโดยไม่ได้ใช้น้ำยาประสานท่อ (ซึ่งท่อ PVC สามารถสวมท่อกับข้อต่อPVC ได้เลยในทันที จึงตรวจสอบได้ยากว่าทาน้ำยาประสานท่อแล้วหรือไมติดตั้งไม่นานหากแรงสั่นหรือการเคลื่อนตัวทั้งจากป๊มน้ำและแรงกระแทก อาจก่อให้เกิดการหลุดตัวได้ ซึ่งต่างจากท่อPPR ไม่สามารถสวมท่อและข้อต่อเข้ากันได้เลยทันที ท่อPPR ต้องใช้เครื่องผสานให้ความร้อนเท่านั้นจึงจะสามารถติดตั้งท่อและข้อต่อเป็นเนื้อเดียวกันได้ ฟังดูแล้วการใช้ท่อPPR อาจดูยุ่งยากครับในส่วนของที่จะต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อPPR เฉพาะ แต่ในระยะยาวแล้วท่อPPR เมื่อติดตั้งเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจะไม่มีปัญหาท่อรั่วในอานาคตใช้งานได้ยาวนานกว่า)
ท่อPVC สามารถสวมท่อและข้อต่อได้โดยไม่ต้องทากาว
  • แรงดันน้ำสูงเกินไป ความดันน้ำที่ไหลผ่านภายในท่อสูงเกินกำหนดที่ท่อรับได้ จะทำให้เกิดแรงดันที่จุดต่อและอาจทำให้ท่อแตกในที่สุด
  • การกัดกร่อนของสารเคมี น้ำที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง หรือการใช้สารเคมีทำความสะอาดท่อบ่อยครั้ง อาจทำให้ท่อเกิดการกัดกร่อนและรั่วซึมได้
  • อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ท่อขยายตัวและหดตัว จนเกิดรอยร้าวได้
  • อุณหภูมิที่มากเกินไป น้ำที่ไหลผ่านภายในท่อมีอุณหภูมิเกินกว่าที่คุณสมบัติของท่อรองรับได้ เช่นกรณีเดินท่อกับเครื่องน้ำอุ่นที่อุณหภูมิปกติอยู่ที่ 50°C แต่ถ้าเป็นท่อน้ำร้อนจำเป็นต้องใช้ท่อที่รองรับอุณหภูมิให้ได้ถึง 95°C

 ……………………………………………………………………..

วิธีตรวจสอบท่อน้ำรั่วในเบื้องต้น

สังเกตค่าน้ำที่สูงผิดปกติ ตรวจสอบใบแจ้งหนี้ค่าน้ำ หากพบว่าค่าน้ำสูงขึ้นอย่างผิดปกติโดยที่การใช้น้ำไม่ได้เพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณของท่อน้ำรั่ว
ปั๊มน้ำทำงานไม่หยุดหรือได้ยินเสียงน้ำไหลตลอดเวลา เมื่อปิดก๊อกน้ำทุกจุดในบ้านแล้ว หากยังได้ยินเสียงน้ำไหลตลอดเวลา ป๊มน้ำทำงานแสดงว่าอาจมีท่อน้ำรั่วในจุดที่มองไม่เห็น
ตรวจหารอยชื้นหรือเชื้อราบนฝ้า หรือผนัง สำรวจผนังบ้าน โดยเฉพาะบริเวณใกล้ห้องน้ำหรือครัวหากพบรอยชื้นหรือเชื้อรา อาจเกิดจากท่อน้ำรั่วภายในผนัง
สำรวจพื้นที่รอบบ้านหรืออาคารหาจุดที่มีน้ำขัง ตรวจสอบพื้นที่รอบบ้านหากพบน้ำขังในบริเวณที่ไม่ควรมี อาจเป็นสัญญาณของท่อน้ำรั่วใต้ดิน
สังเกตจากมิเตอร์น้ำ ทั้งการหมุนหรือตัวเลขของมิเตอร์น้ำที่หมุนเร็ว หรือตลอดเวลาในขณะที่เราปิดจุดก๊อกน้ำทุกจุดหรือหมุนวาลว์น้ำเข้าจากท่อเมนของการประปาฯ แล้วก็ตาม นั้นหมายถึงมีการไหลของน้ำภายในบ้านหรือในอาคารอยู่จึงสามารถสันนิฐานได้เลยว่ามีการรั่วเกิดขึ้น

 ……………………………………………………………………..

วิธีการซ่อมแซมท่อน้ำรั่วชั่วคราวในเบื้องต้น

วิธีการซ่อมท่อน้ำรั่วในเบื้องต้น
  • ใช้เทปพันท่อสำหรับซ่อมท่อน้ำรั่วชั่วคราวพันเทปรอบจุดรั่วให้แน่นหลายๆ รอบ
  • ใช้กาวอีพ็อกซี่สำหรับรอยรั่วขนาดเล็ก ทากาวลงบนจุดรั่วและรอให้แห้ง

กรณีรั่วที่ข้อต่อเกลียว หรือวาล์วเสีย

      1.ปิดวาล์วน้ำหลัก วาล์วหลักนอกบ้านมักจะอยู่ใกล้กับมิเตอร์น้ำที่ติดตั้งโดยการประปาฯ โดยมากมักจะเป็นวาล์วชนิด Gate Valve ให้เราหมุนวาล์วตามเข็มนาฬิกาจนกว่าจะรู้สึกว่าหมุนตึงมือไม่ไปแล้ว ซึ่งแสดงว่าปิดน้ำเรียบร้อย ทั้งนี้เมื่อหมุนสุดแล้วให้สังเกตตัวเลขมิเตอร์ด้วยว่ายังวิ่งอยู่หรือไม่ ถ้าหมุนถูกฝั่งตัวเลขมิเตอร์จะหยุดเดิน นั้นหมายถึงน้ำจากการประปาหยุดส่งเข้าในตัวบ้านหรือในอาคารเรียบร้อยแล้ว (ควรระมัดระวังในการหมุนวาล์ว อย่าใช้แรงมากเกินไปเพื่อป้องกันการเสียหายของวาล์ว หากมีปัญหาในการหมุนหรือไม่สามารถปิดวาล์วได้ควรติดต่อช่างประปามืออาชีพเพื่อช่วยดำเนินการ)

วิธีปิดวาล์วน้ำหลัก
2.ใช้ประแจถอดข้อต่อหรือวาล์วที่เสียออก
3.เปลี่ยนข้อต่อหรือวาล์วใหม่ พันเทปพันเกลียวให้ถูกต้องแล้วขันให้แน่นพอดี
(เทปพันเกลียว หรือเทปพันเกลียวท่อประปา เป็นตัวเชื่อมและตัวช่วยในการป้องกันการรั่วซึ่มระหว่างเกลียว)

กรณีรั่วที่ท่อ หรือข้อต่อ

  1. ปิดวาล์วน้ำหลัก
  2. ใช้เลื่อยหรือกรรไกรตัดท่อ ตัดส่วนที่รั่วออก
  3. วัดความยาวและตัดท่อใหม่ให้พอดี
  4. ใช้ข้อต่อติดตั้งเชื่อมท่อใหม่เข้ากับท่อเดิม (ตรวจสอบขนาดของท่อ ประเภทและวิธีการติดตั้งให้เหมาะสมกับท่อเดิม)

ติดตั้งท่อPPR ด้วยวิธีง่ายๆ 5 ขั้นตอน

ติดต่อช่างประปามืออาชีพ

สำหรับปัญหาท่อน้ำรั่วที่ซับซ้อน เช่น ท่อรั่วใต้ดินหรือในผนัง ควรติดต่อช่างประปามืออาชีพเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซ่อมแซมที่ไม่ถูกต้อง

ตรวจสอบท่อน้ำเป็นประจำ

หากพบการรั่ว ควรรีบทำการซ่อมแซมทันทีเพื่อป้องกันความเสียหายที่ใหญ่ขึ้น
ทั้งนี้ควรตรวจสอบท่อน้ำทั้งภายใน ภายนอกอาคารและบ้าน อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อสังเกตความผิดปกติก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่
ควบคุมความดันน้ำให้เหมาะสม
ติดตั้งวาล์วควบคุมความดันน้ำ (Pressure Reducing Valve) เพื่อรักษาระดับความดันน้ำให้เหมาะสมกับระบบท่อใน
หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีรุนแรง
ใช้วิธีการทำความสะอาดท่อแบบธรรมชาติ เช่น น้ำร้อนผสมเกลือ แทนการใช้สารเคมีรุนแรงที่อาจทำลายท่อ

ควรศึกษาคุณสมบัติของท่อน้ำ เพื่อการเลือกใช้ประเภทท่อที่เหมาะสมและมีคุณภาพสูงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาท่อน้ำรั่วได้อย่างดี

ทั้งนี้หากเกิดปัญหาท่อรั่วควรแก้ไขให้ทันท่วงที อีกทั้งควรบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเหล่านี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว