Blog
รอบรู้เรื่องท่อ
ซ่อมท่อประปา

September 8 , 2020

ท่อแบบไหน ซ่อมได้...ซ่อมไม่ได้

ปกติการวางท่อประปาภายในบริเวณบ้าน จะมี 2 แบบหลักๆ คือ แบบฝังดิน ผนัง หรือวางระนาบไปบนพื้นดินหรือปูน ส่วนสาเหตุที่ทำให้ท่อทั้ง 2 แบบ เกิดอาการรั่ว ซึม หรือแตกนั้น ก็มาจากหลายปัจจัย เช่น เสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน อุบัติเหตุจากการถูกของแข็งกระแทก ถูกสัตว์เลี้ยง สุนัข หรือหนู กัดแทะ หรือช่างติดตั้งไม่ดีทำให้ท่อหลุด ท่อรั่ว เหตุให้น้ำค่อยๆ ไหลซึมออกมามากขึ้นๆ เรื่อยๆ

การซ่อมท่อประปาเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นก็มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าใครจะใช้แนวทางไหน บ้างซ่อมท่อโดยการเอาเทปกาวไปพันหลายๆ รอบ ตรงจุดรั่วซึมดื้อๆ เลย วันสองวันแรกก็อาจพอยับยั้งน้ำไม่ให้หยดได้บ้าง หลังจากนั้นก็กลับเข้าสู่สภาพเดิม บ้างซ่อมท่อด้วยการใช้ดินเหนียว ดินน้ำมัน พันผ้าประกบเข้าไปอีกหลายๆ ชั้น แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่สามารถซ่อมท่อเพื่อเอาชนะรอยรั่ว ซึม หรือแตก จุดนั้นได้สักที     

ซ่อมท่อแบบถาวรจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ที่สามารถแก้ไขปัญหาท่อรั่ว ทั้งจากการใช้ท่อน้ำประปาที่ไม่ได้คุณภาพ หรือท่อรั่วจากการพลั้งเผลอตอกตะปูโดนท่อ หรือปัญหาต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น การซ่อมท่อประปาไม่ใช่เรื่องง่าย และจะยุ่งยากมากสำหรับการซ่อมท่อน้ำที่หาจุดรั่วไม่เจอ!

การซ่อมท่อ PVC (พีวีซี) แบบฝังดินหรือผนังที่รู้จุดรั่ว ต้องทำการรื้อผนังหรือพื้นเป็นวงกว้างเผื่อตัดส่วนที่รั่วออกแล้วเดินท่อใหม่แต่หากไม่รู้จุดการซ่อมท่อรั่วก็จำเป็นต้องรื้อพื้นหรือผนังไปเรื่อยๆเพื่อหาจุดรั่ว

แต่หากเลือกใช้ ท่อ PPR (พีพี-อาร์) การซ่อมท่อจะสามารถทำได้โดยง่ายเพียงเปิดผนังให้มีช่องพอประมาณแล้วใช้สว่านขยายรูรั่ว แล้วจึงทำการซ่อมท่อ เชื่อมรูรั่วด้วยแท่งซ่อมก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยเปิดน้ำพร้อมใช้งานได้ทันที ซ่อมท่อประปาง่ายๆเพียงเท่านี้ ใครๆ ก็สามารถแก้ไขได้โดยง่าย ประหยัด ไม่สิ้นเปลือง

วิธีการซ่อมท่อรั่วในผนัง

ท่อ ppr ในผนัง
เปิดผนังให้มีช่องพอประมาณ
วิธีการซ่อมท่อ ppr
ใช้สว่านขยายรูรั่ว
ท่อ ppr กับรูตะปู
รูรั่วที่ได้ทำการขยายแล้ว
การซ่อมท่อ ppr
การเชื่อมรูรั่ว
แท่งซ่อม ppr
แท่งซ่อมที่เชื่อมรูรั่วแล้ว
ซ่อมท่อ ppr
ท่อที่รั่วได้รับการแก้ไขเรียบร้อย
คลิปก้ามปูสั้น: Small Plastic Clip
แท่งซ่อม (Repairing Sticker)
บทความล่าสุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลที่ควรเลือกใช้ท่อน้ำ ไทย พีพี-อาร์